วันอาทิตย์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วิตามินและอาหารเสริมที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิง

วิตามินและอาหารเสริมที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิง
ร่างกายผู้หญิงนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงวัย โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นช่วงเจริญพันธ์ ดังนั้นการได้รับปริมาณสารอาหารและวิตามินเสริมที่ครบและในปริมาณที่เพียงพอนั้นสำคัญอย่างยิ่ง
            ในสหรัฐอเมริกา ผู้หญิงมากกว่า 62% บริโภควิตามินเสริมและแร่ธาตุเป็นประจำ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้หญิงในประเทศอื่นๆ แล้วนั้นถือได้ว่าเป็นจำนวนที่สูงทีเดียว
            ในปัจจุบันวิตามินเสริมและแร่ธาตุมีหลากหลายชนิด วิตามินเสริมชนิดใดที่มีความเหมาะสมกับร่างกายของผู้หญิงก่อนที่จะหาวิตามินและแร่ธาตุมาบริโภค
            วิตามินเสริมและแร่ธาตุมีประโยชน์อย่างไร ปริมาณเท่าใดจึงจะเพียงพอ  ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
           วิตามินเอ นั้นมีประโยชน์มากสำหรับสายตาอีกทั้งยังมีส่วนช่วยในการสร้างฟัน กระดูก และเลือด รวมถึงป้องกันการติดเชื้ออีกด้วย
ปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน 2,300 IU
            อาหารเสริม เช่น เบต้าแคโรทีน สามารถพบได้ในแครอต และแคนตาลูป
            วิตามินบี มีหน้าที่สำคัญ คือ เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาในการเผาผลาญอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน ทำให้เกิดพลังงานเพื่อให้ร่างกายสามารถทำงานได้ นอกจากนี้ยังช่วยในส่วนของระบบประสาท มีกรดโฟลิคในวิตามินบี 9 ซึ่งมีประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของเซลล์และเป็นสิ่งจำเป็นในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง ในมารดาที่กำลังตั้งครรภ์นั้นควรรับประทาน กรดโฟลิค เพื่อช่วยลดอัตราความเสี่ยงของการเกิดความผิดปกติของทารกในครรภ์
ปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน 400 mcg (ไมโครกรัม)
            มารดาที่กำลังตั้งครรภ์ 600 mcg (ไมโครกรัม)
            อาหารเสริม มีมากในธัญพืชที่ไม่ได้ขัดสี เช่น ข้าวซ้อมมือ ถั่วต่างๆ งา ตับ มารดาที่กำลังตั้งครรภ์ควรปรึกษาสูตินารีแพทย์ในการบริโภควิตามินบีที่พอ เพียงต่อร่างกาย
            วิตามินซี เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันในร่างกายได้เป็นอย่างดี สามารถป้องกันและรักษาอาการอักเสบที่มาจากแบคทีเรียและไวรัสได้ มีประโยชน์เป็นตัวสร้างคอลลาเจนซึ่งเป็นเส้นใยทำหน้าที่เชื่อมเนื้อเยื่อต่างๆไว้ด้วยกัน ทั้งยังเป็นตัวสร้างกระดูก ฟัน เหงือก และเส้นเลือดช่วยให้แผลสดและแผลไฟไหม้หายเร็วขึ้น
ปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน: 1,000 - 2,000 IU
            อาหารเสริม วิตามินซีมีมากในผักตระกูลกะหล่ำ บลอคโครี่ ส้ม น้ำมะนาว สับประรด เป็นต้น ในส้ม 1 ลูก หรือ บลอคโครี่1 ถ้วยนั้น มีปริมาณวิตามินซีที่พอเพียงต่อวันทีเดียว
            วิตามินดี การรับประทานวิตามินดีนั้น สามารถช่วยลดการเกิดมะเร็งเต้านม ได้ถึง 50% ยังสามารถช่วยป้องกันมะเร็งในรังไข่ และการเกิดของโรคเบาหวาน อีกทั้งเป็นสาระสำคัญเพื่อการรักษาภาวะสมดุลของระดับแคลเซียมในเลือดและในกระดูก เมื่อใดที่ร่างกายได้รับแสงแดด ร่างกายก็จะสามารถสร้างวิตามินดีได้
ปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน: 1,000 - 2,000 IU
            อาหารเสริม พบได้ในนม น้ำส้ม และปลาแซลมอน อย่างไรก็ตาม หากบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มไม่เพียงพอปริมาณของวิตามินดีที่แนะนำ ควรหาอาหารเสริมชนิดอื่นมาเพิ่ม
            สารอาหารประเภทแร่ธาตุ:แคลเซียมนั้นคือ สารอาหารที่มีความจำเป็นต่อฟัน กระดูก เส้นผม ผิวหนัง และเซลล์ประสาท อีกทั้งแคลเซียมมีความสำคัญในการควบคุมความดันเลือดสูง และการควบคุมน้ำหนักตัวด้วยอีกเช่นกัน ควรเพิ่มแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการในการเจริญเติบโตของร่างกาย และกระดูก โดยเฉพาะในช่วงเวลา เช่น ระหว่างตั้งครรภ์ ช่วงให้นมบุตร และระยะที่มีประจำเดือน
ปริมาณที่ควรบริโภคต่อ วัน: 1,000 mg
            อาหารเสริม นมและผลิตภัณฑ์นม เช่นโยเกิร์ต เนยแข็ง นมข้นแข็งหรือนมเปรี้ยวนั้น เป็นแหล่งที่อุดมด้วยแคลเซียม
            ธาตุเหล็ก เป็นส่วนประกอบของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง
ปริมาณที่ควรบริโภคต่อวัน: 18 mg
            อาหารเสริม เช่น ตับ เนื้อแดง ธัญพืช แป้ง ไข่ ผักใบเขียวเข้ม เช่น ผักคะน้า ผักบุ้ง รวมทั้งถั่วเมล็ดแห้งต่างๆในสตรีที่มีประจำเดือนมากๆ หรือมังสวิรัติ ควรรับประทานอาหารที่ให้ปริมาณวิตามินซีสูงพร้อมกับรับประทาน ผักที่มีธาตุเหล็ก หรือธาตุเหล็กในรูปแบบเม็ดด้วย
            การรับประทานอาหารที่มีเนื้อสัตว์ไปพร้อมๆกับผักและผลไม้สด กินตับสัตว์และเลือดสัตว์ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง สามารถช่วยให้ร่างกายได้รับธาตุเหล็กอย่างเพียงพอ ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
 ที่มา:http://www.vcharkarn.com/varticle/41224

วันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

โรคอ้วน

โรคอ้วน หมายถึงสภาวะร่างกายที่มีไขมันสะสมไว้ตามอวัยวะต่างๆ มากจนเกินไป

สาเหตุที่ทำให้เป็นโรคอ้วน

    กรรมพันธุ์ - ถ้าพ่อและแม่อ้วนทั้งคู่ลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 80 แต่ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่อ้วนลูกจะมีโอกาสอ้วนถึงร้อยละ 40 แต่ไม่ควรที่จะวิตกกังวลจนเกินเหตุ ไม่ใช่ว่าคุณจะสิ้นโอกาสผอมหรือหุ่นดี
    นิสัยจากการรับประทานอาหาร - คนที่มีนิสัยไม่ดีในการรับประทานอาหาร หรือที่เรียกกันว่า กินจุบจิบ ไม่เป็นเวลาก็ทำให้อ้วนขึ้นได้
    การไม่ออกกำลังกาย

- ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดี แต่มีการออกกำลังกาย บ้างก็อาจทำให้ยืดเวลาความอ้วน แต่ถ้ารับประทานอาหารที่มากเกินพอดีแล้วนั่งๆ นอนๆ โดยไร้ซึ่งการยืดเส้นยืดสาย ในไม่ช้าก็จะเกิดการสะสมไขมันในร่างกาย

    อารมณ์และจิตใจ - มีบางคนที่รับประทานอาหารตามอารมณ์และจิตใจ เช่น กินอาหารเพื่อดับความโกรธแค้น กลุ้มใจ กังวลใจ บุคคลเหล่านี้จะรู้สึกว่าอาหารทำให้ใจสงบ จึงยึดอาหารไว้เป็นสิ่งที่สร้างความสบายใจ - แต่ในทางกลับกัน บางคนที่รู้สึกเสียใจ กลุ้มใจ ก็กินอาหารไม่ได้ ถ้าในระยะเวลานานๆ ก็มีผลทำให้เกิดการขาดอาหาร ฯลฯ
    ความไม่สมดุลกับความรู้สึกอิ่ม ความหิว ความอยากอาหาร - เมื่อใดที่ความอยากกินเพิ่มขึ้นเมื่อนั้นการบริโภคก็จะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถึงขั้น "กินจุ" ในที่สุดก็จะทำให้เกิดความอ้วน
    เพศ - ผู้หญิงสามารถอ้วนได้ง่ายกว่าผู้ชาย เพราะโดยธรรมชาติมักสรรหาอาหารมากินได้ตลอดเวลา อีกทั้งผู้หญิงจะต้องตั้งครรภ์ทำให้น้ำหนักตัวมากขึ้น เพราะต้องกินอาหารมากขึ้น เพื่อบำรุงร่างกายและทารกในครรภ์ และหลังคลอดบุตรแล้วก็ไม่สามารถลดน้ำหนักลงให้เท่ากับเมื่อก่อนตั้งครรภ์ได้
    อายุ - เมื่ออายุมากขึ้น โอกาสที่จะอ้วนก็เพิ่มขึ้น ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งอาจเกิดจากการใช้พลังงานน้อยลง
    กระบวนการทางเคมีที่เกิดกับร่างกาย
    ยา - ผู้ป่วยบางโรคนั้น จะได้รับสเตียรอยด์เป็นเวลานานก็ทำให้อ้วนได้ และในผู้หญิงที่ฉีดยาหรือใช้ยาคุมกำเนิด ก็ทำให้อ้วนได้เหมือนกัน
    โรคบางชนิด เช่น ไฮโปไทรอยด์
โรคที่พบบ่อยในคนอ้วนมาก

    ไขมันในเลือดสูงทำใหอ้วน
    ความดันโลหิตสูง
    โรคหัวใจ
    โรคเบาหวาน
    โรคข้อกระดูกเสื่อม
    โรคทางระบบทางเดินหายใจ
    โรคมะเร็งบางประเภท

วิธีการลดความอ้วน

    ควบคุมอาหารการลดความอ้วน
    ออกกำลังกาย
    ปรับพฤติกรรมให้เหมาะสม
    แนวทางพึงปฏิบัติ
    รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเอื้อต่อการลดความอ้วน
    เลือกใส่เสื้อผ้าให้เหมาะกับคนอ้วน

วันเสาร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2555

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

     อาหารเสริม หมายถึง ลักษณะอาหารที่แพทย์เสริมให้สำหรับเด็ก หลังจากที่เด็กมีอายุ หลัง 6 เดือน ไปแล้ว เพื่อให้เด็กหัดเคี้ยว หรือได้รับสารอาหารอย่างอื่นนอกเหนือจากนม ยกตัวอย่างเช่น กล้วยบด ก็คืออาหาร เสริมสำหรับเด็ก หรืออาหารเสริมที่ทำจากแอปเปิล เป็นต้น รวมถึงอาหารเสริมสำหรับสตรีมีครรภ์ด้วย ทั้งหมดนั่นก็เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงาน หรือสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการ

        ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หมายถึง สิ่งที่เรารับประทานเพิ่มเข้าไปนอกเหนือจากอาหารหลัก ที่เรารับประทานปกติ ปัจจุบันเราจะพบว่าผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ก็คือ การนำสารสกัดจากพืชธรรมชาติ สัตว์น้ำทั่วไป สัตว์ทะเล เคมีสังเคราะห์ แร่ธาตุ วิตามินเข้มข้น ฯลฯ ที่อยู่ในรูปคล้าย ยาเม็ด แคปซูล หรือของเหลว ที่มักมีการกล่าวอ้างว่า ช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ป้องกันโรค ที่สำคัญสามารถทดแทนสารอาหารที่ร่างกายบกพร่องได้ จะเห็นได้ว่าตามความหมาย ดังกล่าว ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมิได้มีความหมายในการบริโภคเพื่อ "รักษา" เหมือนยา แต่เพื่อการ "บำรุง" เท่านั้น ดังนั้นการตัดสินใจเลือก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ควรพิจารณาว่า

          1. มีข้อมูลการศึกษาเพียงพอและมีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายได้
          2. พิจารณาขนาดที่ใช้สามารถใช้ได้ในประชาการทั่วไปหรือไม่
          3. มีความปลอดภัยเพียงพอหรือไม่ ควรติดตามรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงและผลเสียที่มี
          4. คำนึงถึงผลดีว่ามีความคุ้มค่ากับราคาของผลิตภัณฑ์หรือไม่
          5. อย่าหลงเชื่อคำโฆษณา และผลิตภัณฑ์นั้นต้องมีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

ข้อควรทราบเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

1. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไม่ใช่ผลิตภัณฑ์ยา ดังนั้น จึงไม่สามารถรักษา หรือบรรเทาโรคใดๆ และไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบการทำงานภายในร่างกาย หรือ ช่วยเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของร่างกายได้

2. ห้ามมิให้โฆษณาเผยแพร่ในเชิงก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่า ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
สามารถรักษาหรือบรรเทาโรคใด ๆ

3. ต้องไม่โฆษณาโดยทำให้เข้าใจว่า การรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นเพียงอย่างเดียว
จะทำให้สุขภาพร่างกายดีขึ้นได้ แต่ต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าจะต้องบริโภคอาหารหลักให้ครบส่วน
รวมทั้งการออกกำลังกายและการพักผ่อนที่เหมาะสมด้วย

4. ไม่อนุญาตให้มีการกล่าวอ้างหรือรับรองคุณภาพคุณประโยชน์โดยบุคคล องค์กร หรือหน่วยงานใด ๆ

5. การโฆษณาโดยการแจกแจงคุณประโยชน์ของสารอาหารแต่ละชนิด
ที่เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้น สามารถกระทำได้ก็ต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่ามีคุณประโยชน์ตามที่กล่าวอ้างจริง

6. ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารใดมีการแสดงข้อความกล่าวอ้างทางโภชนาการ หรือกระทำการโฆษณา
โดยกล่าวอ้างคุณค่าทางโภชนาการเพื่อส่งเสริมการขาย ต้องแสดงข้อมูลโภชนาการบนฉลาก
เพื่อให้ผู้บริโภคทราบด้วย

7. ต้องไม่สื่อความหมายให้เข้าใจว่าเป็นอาหารสำหรับควบคุมน้ำหนัก
หรือสามารถใช้ลดน้ำหนักได้

8. การที่ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้รับอนุญาตให้จำหน่าย จาก อย.แล้ว
แสดงว่า อย. รับรองเฉพาะสรรพคุณตามที่ขออนุญาต ซึ่งกำหนดให้ระบุบนฉลาก
ผู้บริโภคจึงควรศึกษารายละเอียด บนฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนทุกครั้ง
ฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ฉลากผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนั้นต้องแสดงข้อความภาษาไทย ได้แก่

1. ชื่ออาหาร

2. เลขสารบบอาหารในเครื่องหมาย อย.

3. ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต/ผู้แบ่งบรรจุ หรือผู้นำเข้า (ในผลิตภัณฑ์นำเข้าต้องระบุประเทศผู้ผลิตด้วย)

4. ปริมาณสุทธิ

5. ส่วนประกอบสำคัญ

6. วันเดือนปีที่ผลิต และ วันเดือนปีที่หมดอายุ โดยมีคำว่า ”ผลิต “ และ ”หมดอายุ” หรือ “ควรบริโภคก่อน” กำกับไว้ด้วย

7. คำแนะนำในการเก็บรักษา

8. ในกรณีที่มีการเจือสี แต่งกลิ่นรส ใช้วัตถุกันเสีย วัตถุปรุงแต่งรสอาหาร หรือ
วัตถุให้ความหวานแทนน้ำตาล ต้องระบุบนฉลากด้วย

ข้อสังเกตก่อนซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

    การเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารนอกจากจะเลือกสารอาหารตามอาการ  ที่เรามี หรือสารอาหารที่เราต้องการ แล้ว  เรายังคงจะต้อง  ตรวจสอบข้อมูลก่อนซื้อเพิ่มเติมอีก  คือ

1. เปรียบเทียบข้อมูลโฆษณาที่ได้รับกับฉลากข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่อยู่ข้างกล่องหรือขวด
ถ้าไม่ตรงกันก็ควรหลีกเลี่ยง หรือสอบถามข้อมูลจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องก่อนตัดสินใจซื้อ

2. สังเกตฉลากเพื่อหาข้อมูลที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์ใดขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ผลิตภัณฑ์ใดขึ้นทะเบียนเป็นยารักษาโรค โดยถ้าพบผลิตภัณฑ์ใดแสดงเครื่อง-หมาย "อย." บนฉลาก แสดงว่าได้รับอนุญาตให้จำหน่ายในรูปของอาหาร
จึงไม่สามารถรักษาโรคใด ๆ ได้
ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ยาจะไม่มีเครื่องหมาย อย. แสดงบนฉลาก
แต่จะแสดงเป็นเลข-ทะเบียนตำรับยาระบุบนฉลากแทน
ลักษณะของเลขทะเบียนตำรับยาที่แสดงบนฉลาก ตัวอย่างเช่น ทะเบียนยาเลขที่ 1 A 9999/46 หรือ เลขทะเบียนที่ 1 G 3996/ 44 หรือ Reg.No. 1K 3333/28 เป็นต้น

3. ข้อความโฆษณาต้องมีเลขอนุญาตโฆษณา ลักษณะของเลขอนุญาตโฆษณา ตัวอย่างเช่น ฆอ.9988/2543 หรือ ฆอ. 10200/2546 เป็นต้น
ซึ่งรวมถึงคำพูดที่ผู้จำหน่ายอธิบายประกอบการขายผลิตภัณฑ์
ก็ต้องได้รับการอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแล้ว

เรียบเรียงข้อมูล จาก http://www.oryor.com/