วันจันทร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2557

หมามุ่ย ไวอากร้า-บำรุงกำลัง พันธุ์ไทย

หมามุ่ย ไวอากร้า-บำรุงกำลัง พันธุ์ไทย

  หมามุ่ย หรือ หมามุ้ย เป็นพืชลุ้มลุกตระกูลถั่ว คนไทยเรารู้จักมานานแล้วในฐานะที่เป็นสิ่งไม่ชวนพิสมัยเท่าใดนัก เพราะคุณสมบัติในด้านลบ คืออาการคันอันเกิดจากการไปสัมผัส ผงหมามุ่ย
แต่ล่าสุด หมามุ่ย กำลังผงาดขึ้นมาสร้างคุณประโยชน์สรรพคุณทางยาที่สำคัญ  หลังจากนักวิจัยไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
สามารถสกัดเอาสารตามธรรมชาติในหมามุ่ยมาผลิตเป็นยาสมุนไพรบำรุง สเปิร์ม และเพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้กับคุณสุภาพบุรุษทั้งหลาย

   'หมามุ่ย' มีชื่อวิทยาศาสตร์ ว่า Mu cuna pruriens (L.) DC. ชื่อวงศ์ FABA CEAE
มีชื่ออื่นๆ ในภาษาถิ่น คือ กลออื้อแซ โพล่ยู มะเหยือง และหมาเหยือง
   ความสำเร็จในการ นำหมามุ่ยมาวิจัยต่อยอดสร้างยาสมุนไพรเสริมสร้าง 'สุข ภาพทางเพศ' ให้กับบุรุษนั้นแถลงข่าวและเปิดเผยกันอย่างเป็นทางการในงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ ครั้งที่ 8 ซึ่งปีนี้จัดขึ้น ภายใต้แนวคิด 'ยาไทย เด็กใช้ได้ ผู้ใหญ่ใช้ดี Herb for All'เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม-4 กันยายน 2554 ที่อิมแพ็ค เมืองทองธานี

   หมามุ่ย เป็นสมุนไพรพื้นบ้านของไทยที่ใช้อย่างแพร่หลายในอดีต
โดยเฉพาะคุณสมบัติบำรุงกำลัง 
    ลักษณะทั่วไปของหมามุ่ย เป็นไม้เลื้อยล้มลุก ลำต้นเล็กเหนียวคล้ายเชือก ดอกออกเป็นช่อห้อยลง สีม่วงแก่ถึงม่วงออกดำ

    ความพิเศษของหมามุ่ย อยู่ตรงขนอ่อนที่ปกคลุม เพราะเป็นขนที่เต็มไปด้วยสาร 'ซีโรโทนิน' (Serotonin) เมื่อโดนจะทำให้เกิดอาการคัน ระคายเคือง ซึ่งฝักจะออกมากในช่วงฤดูหนาวถึงฤดูแล้ง และปลิวตามลม ชาวบ้านทั่วไป เมื่อพบจึงมักทำลายเถ้าหมามุ้ยทิ้ง ที่ผ่านมาตั้งแต่ในอดีตหมอยาแผนโบราณค้นพบวิธีนำหมามุ่ยมาใช้หลากหลายตำรับด้วยกัน
โดยนำมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ ราก ใบ ฝัก เม็ด เช่น ใช้รากแก้คัน ใช้ถอนพิษ ล้างพิษ เม็ด ใช้ทั้งกินเม็ดคั่ว นึ่ง และบด เป็นผง เพื่อบำรุงกำลัง เพิ่มน้ำเชื้อ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ

    ในประเทศอินเดีย พบว่า มีพืชวงศ์เดียวกับหมามุ่ยของไทย ซึ่งปลูกเพื่อนำไปแปรรูปอย่างจริงจัง เพราะมีการศึกษา วิจัย อย่างเป็นระบบ กระทั่งสกัดเป็นยา เพื่อเพิ่มความต้องการทางเพศ คลายเครียด และเพิ่มการเผาผลาญและมวลของกล้ามเนื้อ

     สาเหตุที่หมามุ่ยเป็นที่น่าสนใจอีกประการ เนื่องจากโรคเกี่ยวกับการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การมีลูกยาก ถือเป็นโรคที่หลายประเทศมีอัตราการใช้สูงเพิ่มมากขึ้น
สำหรับประเทศไทยเราใช้เงินซื้อ 'ยารักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ' ของตะวันตกไปกว่าร้อยล้านบาท ในขณะที่ทั่วโลกมีอัตราการใช้อยู่ที่ประมาณห้าหมื่นล้านบาท

     จากรายงานทางการแพทย์ มีการทดลองในสัตว์ พบว่าสารธรรมชาติในหมามุ่ย ทำให้สมรรถภาพทางเพศดีขึ้น เพิ่มความถี่ในการผสมพันธุ์ได้เป็นสิบเท่า
รวมทั้งยืดระยะเวลาในการมีเพศสัมพันธŒทำให้ชะลออาการหลั่งเร็วได้ และเพิ่มปริมาณฮอร์โมนทางเพศ

   รายงานการวิจัยที่ทำในผู้ชายอินเดีย 75 คน ซึ่งประสบปัญหาการมีบุตรยาก เนื่องจากความเครียด พบว่า
หลังจากให้เม็ดหมามุ่ยทานในปริมาณ 5 กรัมต่อวันนาน 3 เดือน ระดับความ เครียดลดลง และคุณภาพปริมาณของ 'อสุจิ-น้ำเชื้อ' เพิ่มขึ้น

   จากการวิจัย พบว่า เม็ดหมามุ่ย มีสารแอลโดปา (L-Dopa ) ซึ่งเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์โดพามีน (Dopamine) หรือสารที่มีอิทธิพลสูงต่อระบบสืบพันธุ์ อีกทั้งยังเป็นสารสื่อประสาท ซึ่งใช้ในการรักษาโรคพาร์กินสันอีกด้วย แต่ต้องใช้ในรูปแบบของการผ่านวิธีการ 'สกัด' มาเป็น 'ยาเม็ด' เพราะร่างกายไม่สามารถได้รับสารในรูปแบบของเมล็ดแปรรูป หรือสดได้
    ประชาชนทั่วไปก็สามารถนำเม็ดหมามุ่ยมาเป็นยาสมุนไพรทานเองได้ แต่ก็มีข้อควรระวังอยู่บ้าง เพราะการเก็บหมามุ่ย ต้องรู้วิธีเพื่อไม่ให้คัน วิธีการเก็บ คือ เลือกจากต้นที่ฝักแก่ สังเกตง่ายๆ คือ เม็ดฝักเหมือนจะปริแตก แล้วฉีดน้ำให้เปียก เพื่อป้องกันขนอ่อนที่ฝักฟุ้งกระจาย สวมถุงมือป้องกันแล้วเก็บเม็ดมาคั่วไฟ แล้วนำไปล้างน้ำ ก่อนนำไปคั่วไฟอีกรอบ

    สําหรับข้อควรระวังในการทานเม็ดหมามุ่ย คือ ต้องคั่วให้สุก เพราะหากไม่สุก จะเกิด 'สารพิษ' บางอย่างขึ้นทำให้เกิดอาการประสาทหลอนได้ เพราะในเม็ดหมามุ่ยมีสารแอลโดปา ที่จะทำให้สารสื่อประสาทเกิดความไม่สมดุลได้

    นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยบางโรคที่ไม่ควรกิน เช่น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ผู้ที่ต้องใช้ยาทางจิตเวช รวมทั้งเด็ก และหญิงตั้งครรภ์  ส่วนปริมาณที่แนะนำ ถ้าเป็นคนทั่วไป ไม่ได้มีปัญหาการมีบุตรยาก หรือสมรรถภาพทางเพศ แนะนำให้กินวันละประมาณ 3 เม็ดต่อวัน จะทำให้สดชื่นกระปรี้กระเปร่า แต่หากมีปัญหา แนะนำให้กินวันละ 5 กรัม หรือ 25 เม็ด ไม่เกิน 3 เดือน

   การทานเม็ดหมามุ่ยก็มีหลายวิธี
     ทั้งการป่นเป็นผง และกินผสมกับกาแฟ หรือชา ก็ไม่เสียรสแต่อย่างใด
     หรือจะชงกินกับน้ำร้อนเปล่าๆ ก็จะออกรสเปรี้ยวนิด มันหน่อยๆ
     หรือกินเม็ดคั่วกับข้าวเหนียว หรือเคี้ยวเม็ดที่คั่วแล้วก็สามารถทำได้เช่นกัน

   หากทำวิจัยอย่างครบวงจร และส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตเพื่อนำมาต่อยอด จะสามารถฉวยให้เป็นโอกาสทางเศรษฐกิจได้ เพราะปัจจุบันแม้แต่อินเดีย ที่วิจัยในเรื่องนี้แล้ว แต่ก็ยังไม่ได้ผลิตออกขายเชิงอุตสาหกรรมประเทศไทยจึงถือว่ามีโอกาสที่จะเร่งพัฒนายาสมุนไพรตัวนี้ได้
     กระทรวงสาธารณสุขได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และมูลนิธิ ร.พ.เจ้าพระยาอภัยภูเบศร เร่งศึกษาวิจัยและพัฒนาสมุนไพรหมามุ่ยให้เป็นที่ยอมรับในทางวิทยาศาสตร์และคลินิก เพื่อนำไปขึ้นทะเบียนกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) โดยอาจทำเป็น 2 รูปแบบ คือ ยารักษาโรค และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และมั่นใจว่าจะนำพืชหมามุ่ยมาต่อ ยอดเศรษฐกิจในเชิงอุตสาหกรรมได้
ที่มา:http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROamIyd3dNak13TURnMU5B

วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

ยาลดความอ้วน Phentermine

 ยาลดความอ้วน Phentermine
โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวได้  การรักษาโรคอ้วนสามารถทำได้โดยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการผ่าตัด  ปัจจุบันพบว่าการรักษาด้วยวิธีการรับประทานยานั้นเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในวัยรุ่นหรือผู้หญิงที่มีค่านิยมในการอยากผอม การใช้ยาลดความอ้วนอย่างถูกต้องเป็นวิธีที่เห็นผลเร็วและมีประสิทธิภาพดี  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาลดความอ้วนอย่างผิดๆ ทั้งจากบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในกลไกการออกฤทธิ์ อาการข้างเคียง และวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง รวมถึงประชาชนบางกลุ่มที่ไปแสวงหายาลดความอ้วนมาใช้โดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลหรือตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองจากการใช้ยาซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพตามมาเป็นอย่างมาก

อย่างไรจึงเรียกว่า“อ้วน”
มาตรฐานสำคัญที่ใช้บ่งชี้ว่าบุคคลใดมีภาวะอ้วนหรือไม่นั้น ในปัจจุบันนิยมใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI)

นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานอีกชนิดหนึ่งที่ใช้บ่งชี้ถึงความอ้วนได้ คือ เส้นรอบเอว (waist circumference) ซึ่งมาตรฐานรอบเอว (waist circumference) สำหรับคนไทย คือ
- ผู้ชายไม่ควรเกิน 36 นิ้วหรือ 90 ซม.
- ผู้หญิงไม่เกิน 32 นิ้ว หรือ 80 ซม.
ยาชุดลดความอ้วน : ใช้ผิดมีสิทธิ์ตาย
จากการสำรวจของกองควบคุมวัตถุเสพติดพบว่ายาชุด “ยาลดน้ำหนัก” หรือ “ยาลดความอ้วน” มักจะประกอบไปด้วยยาหลายชนิดเพื่อช่วยเสริมผลในการลดน้ำหนัก เช่น ยาลดความอยากอาหาร ชื่อ เฟนเทอร์มีน (phentermine) ยาธัยรอยด์ฮอร์โมน ยาขับปัสสาวะ และยาระบาย ซึ่งยาเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้หากมีการใช้ผิดวิธี
 นอกจากนี้ ในกรณีที่หยุดรับประทานยาผิดวิธีก็อาจทำให้เกิดภาวะถอนยาได้อีกเช่นกัน ซึ่งอาการถอนยาที่เกิดขึ้น ได้แก่ มีอาการอ่อนเพลีย ง่วงซึม ไม่มีแรง ซึมเศร้า และหลับเป็นเวลานาน จะเห็นได้ว่าการใช้ phentermine ผิดวิธีสามารถก่อให้เกิดปัญหาได้มากและมีมอันตรายสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เช่น
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดอุดตัน
- ผู้ป่วยโรคต้อหิน (glaucoma)
- ผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากเกิน
- ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการใช้ยาในทางที่ผิด
- ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคจิต หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ
- ผู้ป่วยขณะที่กำลังได้รับยากลุ่ม  monoamine oxidase inhibitors (MAOI)รวมทั้งที่   เคยได้รับ  MAOI  มาก่อนหน้านี้ไม่เกิน  14  วันซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ถือเป็นข้อห้ามใช้ของยา phentermineเนื่องจากผลข้างเคียงจากยาจะมีผลทำให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยมีสภาวะเลวลง


   ดังนั้นการไปหาซื้อยาชุดหรือยาลดความอ้วนมาใช้เอง ทั้งจากคลินิกและสถานเสริมความงามที่ไม่มีแพทย์ที่มักไม่มีการตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียด รวมถึงจากร้านขายยาที่ลักลอบนำมาขาย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

    ข้อมูลจากการศึกษาและคำแนะนำจากองค์กรต่างๆ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) หรือ องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) แนะนำให้ใช้ phentermine ในระยะสั้นเท่านั้น (ไม่เกิน 3เดือน) และต้องมีความระมัดระวังในการรับประทานอาหารหรือยาอื่นๆ ร่วมกับ phentermine เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา หรือที่เรียกว่า “ยาตีกัน” และส่งผลให้ผู้ที่รับประทานได้รับอันตรายจากผลข้างเคียงหรือความเป็นพิษของยาได้ในที่สุด
การรักษาโรคอ้วนที่ดี ประหยัด และปลอดภัยที่สุด คือ การลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารอย่างถูกวิธี การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ปัจจัยหลายประการ เช่น การตามใจปาก ความเกียจคร้าน ภาระงานที่รัดตัว การขาดความมั่นใจในรูปร่าง ทำให้ผู้ที่มีปัญหาโรคอ้วนไม่มีเวลา หรือไม่กล้าที่จะปฏิบัติตามวิธีการรักษาดังกล่าว ทำให้การใช้ยาลดความอ้วนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับบุคคลเหล่านั้น อย่างไรก็ดีแม้ว่าการใช้ยาลดความอ้วนจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีและเห็นผลเร็ว แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นก่อนตัดสินใจรับประทานยาลดความอ้วนหรือยาใดๆ ตาม ควรศึกษาวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องและข้อมูลความปลอดภัยของยาจากเภสัชกร หรือเข้ารับคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ทางด้านอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อ หรือโภชนวิทยา จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยาได้มากที่สุด
บทความโดย คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Reference:
Phentermine. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2010 Jan 13. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2010. [cited 2010 Feb 3].
กองควบคุมวัตถุเสพติด. โรคอ้วนและปัญหาการใช้ยาลดความอ้วนในประเทศไทย[Online]. [cited 2010 Feb 3]. Available from: URL: http://www.fda.moph.go.th/youngfda/knowledge/page5.shtm.

กลูตาไธโอน (Glutathione)

   กลูตาไธโอน (Glutathione) เป็นสารมหัศจรรย์อย่างยิ่งที่ร่างกายคนเราสามารถผลิตขึ้นเองโดยธรรมชาติ มีคุณประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ผู้ที่แข็งแรงและ

มีอายุยืนยาว จะสามารถตรวจพบสารกลูตาไธโอนในร่างกายในปริมาณสูง ตรงกันข้ามกับคนป่วยและผู้ที่สุขภาพไม่ดี จะพบว่าปริมาณกลูตาไธโอนในร่างกายต่ำมาก
 ทำอย่างไรให้ร่างกายสร้างกลูตาไธโอนได้เองมากๆ ให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรง นอกจากจะช่วยชะลอวัยแล้ว ยังช่วยให้อายุยืนยาวอีกด้วย

   สารกลูตาไธโอน
เป็นโปรตีนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยกรดอมิโนที่สำคัญ 3 ชนิดรวมตัวกันอยู่ คือ ซิสเตอิน (Cystein) ไกลซิน (Glycine) และ กลูตาเมท (Glutamate)
   เซลล์ทุกเซลล์ในร่างกายสามารถผลิตกลูตาไธโอนได้เอง และถูกผลิตมากที่สุดที่ตับ ปอด ไต ม้าม ตับอ่อน และเลนส์แก้วตา สารมหัศจรรย์นี้เป็นกุญแจสำคัญในการช่วยให้ร่างกายแข็งแรง
มี หน้าที่สำคัญ 4 ประการคือ

    สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย โดยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค ทั้งไวรัส แบคทีเรีย และสิ่งแปลกปลอมอื่นๆที่เข้าสู่ร่างกาย รวมทั้งเซลล์มะเร็ง
    ทำหน้าที่กำจัดสารพิษที่ผ่านเข้าในร่างกาย โดยจะจับสารพิษที่ไม่ละลายน้ำให้เปลี่ยนเป็นสารที่ละลายน้ำ และกำจัดออกทางไตหรือทางลำไส้ ดังนั้นตับและไตซึ่งเป็นอวัยวะที่มีของเสียและสารพิษสะสมมากที่สุด จึงพบ กลูตาไธโอนถูกผลิตออกมามากที่สุด เพื่อทำหน้าที่กำจัดของเสียนั่นเอง ในทำนองเดียวกัน ปอด ก็พบกลูตาไธโอนในปริมาณสูง เพื่อกำจัดของเสียจากที่คนเราหายใจเอาฝุ่นละอองและควันพิษเข้าไปที่ปอดนั่นเอง
    เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีฤทธิ์แรงที่สุด ผลิตขึ้นเองโดยทุกเซลล์ในร่างกายโดยธรรมชาติ มีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ปกป้องเซลล์ให้แข็งแรง ช่วยการไหลเวียนของระบบเลือด

รักษาการทำงานของหัวใจและปอด ช่วยชะลออายุของเซลล์ทุกเซลล์ และชะลอความเสื่อมโทรมของร่างกายและของอวัยะวะทุกส่วน
    ช่วยกระตุ้นการสร้างและซ่อมแซม ‘เซลล์และดีเอนเอที่สึกหรอ นับเป็นกุญแจสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนและไขมัน กระตุ้นการทำงานของเอ็นไซม์ชนิดต่างๆ


    นักวิจัยพบว่า เนื้อสมอง ระบบเส้นประสาท เต้านม และต่อมลูกหมาก มีองค์ประกอบส่วนมากเป็นไขมัน ดังนั้นจึงมีแนวโน้มเป็นแหล่งสะสมของสารพิษหรือสารที่ไม่ละลาย

น้ำแต่ละลายสะสมในไขมัน นักวิจัยตั้งของสังเกตุว่า โอกาสการเกิดโรคความจำเสื่อม (Alzheimer) มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก พบเห็น

มากขึ้นทั่วโลก เนื่องจากสารพิษจากสิ่งแวดล้อม ส่วนใหญ่เป็นสารพิษที่ละลายสะสมในไขมันนั่นเอง

    ออกซิเจนที่คนเราหายใจเข้าไปร่างกาย ประมาณ 2 % ของออกซิเจนที่หายใจเข้าไป จะถูกเปลี่ยน เป็นอนุมูลอิสระ หากอนุมูลอิสระนี้อยู่ในร่างกาย และไม่ถูกทำลาย จะส่ง

ผลเสียอย่างมากต่อร่างกาย โดยอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจะไปทำลายผนังเซลล์ และทำให้ดีเอนเอของเซลล์ชำรุดเสียหาย ผลคือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะบกพร่อง อ่อนไหว

ต่อการเกิดโรคต่างๆ และแก่เร็ว

     สิ่งแวดล้อมที่ไม่ดี การกินอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อากาศเป็นพิษ ปนเปื้อนยาฆ่าแมลง รังสียูวี เครื่องดื่มแอลกอฮอล อาหารที่มีน้ำตาลสูง ควันบุหรี่ ยาเสพติด และ การ

บริโภคยารักษาโรคชนิดต่างๆมากเกินไป ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ก่อให้ร่างกายเกิดภาวะสะสมอนุมูลอิสระมากๆ

     เพื่อต่อสู้กับอนุมูลอิสระที่สะสมจากปัจจัยต่างๆข้างต้น ร่างกายคนเราจะใช้สารต้านอนุมูลอิสระคือ ‘กลูตาไธโอน ที่ทุกเซลล์ผลิตขึ้นเองโดยธรรมชาติ ในการต่อต้าน

ทำลายอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้น หากมีอนุมูลอิสระเกิดขึ้นมากและตลอดเวลา เซลล์ทุกเซลล์ต้องทำงานหนักเพื่อผลิตกลูตาไธโอน มาจับและล้างอนุมูลอิสระให้หมดไปหรือให้เหลือ

น้อยที่สุด

    กลูตาไธโอน คือ สารต้านอนุมูลอิสระ ที่ถูกสร้างและใช้มากที่สุดในร่างกาย นับเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องสายตาของคนเรา ช่วยเปลี่ยนแป้งที่สะสมในร่างกายให้

เป็นพลังงาน และป้องกันการสะสมของไขมันซึ่งอาจนำไปสู่การเป็นโรคหัวใจ กลูตาไธโอนทำหน้าที่ปกป้องทุกเซลล์ของร่างกาย แต่เมื่ออายุมากขึ้น ปริมาณกลูตาไธโอน ใน

ร่างกายจะลดน้อยลง หรือถูกผลิตขึ้นช้าลงและมีปริมาณน้อยลง คนเราเมื่อย่างเข้าอายุ 20 ปี ปริมาณกลูตาไธโอน ในร่างกายจะลดลงเฉลี่ย 8-12% ต่อ 10 ปี แต่หากร่างกาย

มีการบริโภคยาหรือเคมีมากเกินไป ปริมาณการลดลงของกลูตาไธโอนในร่างกายจะรวดเร็วกว่าที่คาดไว้ ทำให้ร่างกายเสื่อมโทรมเร็วก่อนวัย และโรคต่างๆเข้าแทรกแซงได้ง่าย
 ที่มา: รองศาสตราจารย์ ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล
 ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  เอกสารอ้างอิง
The importance of glutathione in human disease. Biomed Pharmacother. 2003

May-Jun;


วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557

คาเฟอีนกับสุขภาพหญิง

คาเฟอีนกับสุขภาพหญิง
    การตั้งครรภ์และให้นมบุตร
    การศึกษาติดตามหญิงที่ดื่มกาแฟในระหว่างการตั้งครรภ์ 15,000 คน พบว่าการดื่มกาแฟในปริมาณปกติคือ 1-2 แก้วต่อวัน ไม่มีผลต่อทั้งน้ำหนักแรกเกิดและความเฉลียวฉลาด ของเด็กเมื่อเจริญวัยขึ้น สำหรับการดื่มในปริมาณมากเกิน 400 มก./วัน หรือ 4 ถ้วย ต่อวันขึ้นไป การศึกษาแบบ case-control พบว่าหญิงที่แท้งมีประวัติการดื่มกาแฟปริมาณสูงกว่าหญิงที่ไม่แท้ง อย่างไรก็ตามมีประเด็นน่าสนใจว่าญาติที่มีอาการแพ้ท้องคลื่นไส้อาเจียนมีความเสี่ยงแท้งน้อยกว่าหญิงที่ไม่มีอาการแพ้ท้อง ซึ่งอธิบายด้วยการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนของรกที่ควรเป็น แล้วอาการแพ้ท้องนี่เอง ที่ทำให้ดื่มกาแฟปริมาณน้อยกว่า ดังนั้น การระบุว่าคาเฟอีนเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการแท้งจึงยังไม่เป็นที่ยุติ มีทั้งที่คิดว่าคาเฟอีนเป็น confounding factor และทั้งที่ยืนยันว่าคาเฟอีนเป็น independent risk factor เนื่องจากยิ่งดื่มปริมาณมากโอกาสแท้งยิ่งสูง

    ในหญิงที่กำลังให้นมบุตร เนื่องจากกาแฟสามารถผ่านนมมารดาไปสู่เด็กได้ การที่มารดาดื่มกาแฟเกินวันละ 3 ถ้วย อาจทำให้ทารกที่ดื่มน้ำนมของมารดานั้น นอนหลับได้น้อยและดื่มนมได้น้อยลง

    โดยสรุป ในหญิงตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร จึงควรแนะนำดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 3 ถ้วย และควรเน้นการกินอาหารอื่นๆ ที่มีประโยชน์มากกว่า

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ดื่มกาแฟแล้วทำให้สมองเสื่อมหรือไม่

ดื่มกาแฟแล้วทำให้สมองเสื่อมหรือไม่
    หลายคนกังวลว่าการดื่มกาแฟนานๆ มีผลให้สมองเสื่อม  จากงานวิจัยทางระบาดวิทยากลับพบอุบัติการณ์ของพาร์กินสันลดลงในผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ โดยมีข้อสันนิษฐานถึงกลไกว่า จากการที่คาเฟอีนไปจับกับ adenosine receptor ชนิด A2a ในสมองส่วน striatrum ช่วยป้องกัน excitotoxic และ ischemic injury ของ dopaminergic neuron ต้นเหตุการณ์เสื่อมของสมองในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและ GABA nergic neuron ต้นเหตุของHuntington’s disease นอกจากนี้ การศึกษาแบบ case-control ในยุโรป ยังพบว่าการบริโภคคาเฟอีนเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงเป็นความจำเสื่อมด้วย

    โดยสรุป จากงานวิจัยพบว่าการดื่มกาแฟกลับยิ่งช่วยลดการสลายของเซลล์ประสาทที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม อย่างไรก็ตาม ผลยังอยู่ในขั้นการทดลองในสัตว์ มีความเป็นไปไดที่อนาคตจะมียาที่ออกฤทธิ์กระตุ้น A2a receptor เพื่อชะลอการเสื่อมของสมอง แต่การดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีนเพื่อหวังผลนี้คงไม่เหมาะสม เนื่องจากต้องพิจารณาถึงระดับสารที่ได้ผลดีต่อสมองกับผลข้างเคียงต่อระบบอื่นๆ
     ที่มา : โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หน้า 1027-1033.

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ดื่มกาแฟแล้วติดจริงหรือไม่

     ดื่มกาแฟแล้วติดจริงหรือ   
     คาเฟอีนกับระบบประสาทส่วนกลาง
    จากรายงานการวิจัยส่วนใหญ่ต่างยอมรับว่าคาเฟอีนกระตุ้นให้ตื่นตัว และลดอารมณ์หงุดหงิดจากการพักผ่อนน้อยได้จริง โดยปริมาณคาเฟอีนในการดื่มแต่ละครั้งไม่ว่าจะมากหรือน้อย ให้ผลไม่ต่างกันมากนัก ขณะการดื่มในคราวเดียวเกิน 150 มก. ทำให้มีอาการใจสั่นและวิตกกังวลได้ในบางคน

    อาการจากการหยุดดื่มกาแฟ จัดเป็น ภาวะขาดยาได้ โดยพบอาการปวดศีรษะร้อยละ 50 ในขณะที่อาการหงุดหงิดอย่างมากมีประมาณร้อยละ 13 อาการต่างๆ เหล่านี้มักเกิด 12-24 ชั่วโมงหลังหยุดกาแฟ และมีอาการอยู่ประมาณ 2-9 วัน โดยระดับความบ่อย และความรุนแรงของอาการเพิ่มตามปริมาณกาแฟที่ดื่มแต่ละวัน

    อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยนักดื่มว่าเป็นการติดสารคาเฟอีน (cafeine dependence) ดูจะรุนแรงเกินเหตุ เมื่อพิจารณาว่าอาการเหล่านี้มักไม่ถึงทำให้เสียการทำงาน ของร่างกายและสังคม หรือถ้ามีก็เป็นระยะเวลาสั้นๆ

    โดยสรุป แม้กาแฟไม่จัดเป็นสารเสพติดแต่ควรแนะนำให้ผู้ที่ต้องการเลิกกาแฟให้ค่อยๆ ลดปริมาณกาแฟเพื่อหลีกเลี่ยงอาการขาดยาและควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟทีละหลายๆ ถ้วย เนื่องจากไม่ช่วยให้ตื่นตัวดีขึ้นมากนักขณะที่กลับมีผลให้เกิดอาการใจสั่นได้


    ที่มา : โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หน้า 1027-1033.

กาแฟกับความดันเลือดสูง

  กาแฟกับความดันเลือดสูง
   จากงานวิจัยพบว่าคนที่เป็นโรคความดันเลือดสูงอยู่ก่อน หรือมีแนวโน้มจะมีความดันเลือดสูง ากเมื่อดื่มกาแฟเข้าไปแล้วจะมีความดันเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่าคนปกติทั่วไป และมีผลลดประสิทธิภาพของยารักษาความดันกลุ่ม beta-blocker

    การศึกษาล่าสุด เกี่ยวกับคาเฟอีนโดยการให้อาสาสมัครกินคาเฟอีนที่บรรจุในแคปซูล 100 มก./วัน เช่นเดียวกับการดื่มกาแฟในระดับทั่วไปเป็นเวลา 5 วัน ก่อนจะทดสอบปฏิกิริยาการดื้อยาด้วยการวัดความดัน 18 ชั่วโมงหลังรับประทานคาเฟอีน 250 มก. จากการศึกษาพบว่า มีการเพิ่มของความดัน และเกิดอาการดื้อยาขึ้นทั้งในผู้ที่ไวและไม่ไวต่อกาเฟอีน แต่ในกลุ่มคนที่ไวต่อคาเฟอีนจะมีรับความดันเลือดสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ไวและความดันที่สูงอยู่นานกว่า

    โดยสรุปการแนะนำผู้ป่วยให้ลดกาแฟไม่ให้เกิน 3 แก้วต่อวัน หรืองดถ้าเป็นไปได้ในผู้ที่เป็นโรคความดันเลือดสูงอยู่แล้ว หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคความดันเลือดสูง จึงน่าจะมีประโยชน์ทั้งในแง่การควบคุมความดันเอง และในแง่ส่วนผสมครีม น้ำตาลในกาแฟที่ทำให้เกิดภาวะอ้วนด้วย

    อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยต่างๆ ยังไม่มีหลักฐานว่าการดื่มคาเฟอีนเป็นประจำ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นความดันเลือดสูงในอนาคต และใน JNC7 ซึ่งเป็น แนวปฏิบัติในการป้องกันรักษาความดันเลือดสูงฉบับล่าสุดก็ระบุถึง life-style modification ที่ช่วยลดความดันได้ผลอยู่ 5 ประการ ได้แก่ การลดน้ำหนัก, การออกกำลังกาย, การลดอาหารเค็ม, การเลือกกินอาหารที่อุดมด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียม แคลเซียม และการดื่มสุราให้ปริมาณพอเหมาะซึ่งไม่ได้กล่าวถึงคาเฟอีนแต่อย่างใด

 ที่มา : โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หน้า 1027-1033.

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

OEM คือ อะไร

OEM ย่อมาจาก Origianal Equipment Manufactur หมายถึง การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด โดยใช้กระบวนการผลิตของเราผู้รับจ้างรวมทั้งเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตด้วย มักจะเป็นโรงงานเปิดใหม่  หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตนเอง และโรงงานที่ไม่มีความชำนาญในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรืออาจจะมีบุคคลากรไม่เพียงพอต่อการผลิต

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คาเฟอีนกับสุขภาพหัวใจ

 คาเฟอีนกับสุขภาพหัวใจ

     คาเฟอีนขนาดไม่เกิน 500 มก./วัน ไม่ได้เพิ่มความถี่หรือความรุนแรงต่อการเกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจห้องบน ทั้งในคนปกติและในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือเคยมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะมาก่อน

    สำหรับการเต้นผิดจังหวะของหัวใจห้องบน มีการศึกษาทดลองหลังจากให้อาสาสมัคร 10 คน รับคาเฟอีน 400 มก. ปรากฏว่า ไม่มีความเปลี่ยนแปลงลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ล่าสุดในการศึกษาติดตามในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่กว่า 40,000 คน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการบริโภคสารคาเฟอีนกับโอกาสเกิดหัวใจผิดจังหวะในคนทั่วไป

    แม้จากงานศึกษาวิจัยไม่มีหลักฐานว่าคาเฟอีนทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยตรงหลักการที่ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดควรมีการเต้นหัวใจไม่เร็วเกินไปนัก ร่วมกับผลของคาเฟอีนที่อาจจะเพิ่มระดับ homocysteine ที่กำลังสนใจว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งให้เกิดหัวใจขาดเลือด ดังนั้น ในผู้สูงอายุหรือผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด จึงควรแนะให้ลดการดื่มกาแฟลงถ้าเป็นไปได้

ที่มา: โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หน้า 1027-1033.

กาแฟ มีผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ ?

 กาแฟ มีผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ
กาแฟ (Coffee)
    กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันมากว่า 100 ปี การดื่มกาแฟไม่ดีกับสุขภาพจริงหรือไม่ เป็นคำถามที่หลายๆคนพยายามหาคำตอบของเรื่องนี้มานาน โรงพยาบาลบางแห่งที่มีโครงการ HPH ถึงกับมีนโยบายงดดื่มกาแฟในโรงพยาบาลเลยทีเดียว
    เมื่อกล่าวถึงผลจากการดื่มกาแฟ ดูจะเป็นการพูดถึงผลของคาเฟอีนไปโดยปริยาย ทั้งที่คาเฟอีนเป็นอัลคาลอยด์ที่พบในพืชกว่า 60 ชนิด ในเครื่องดื่มประเภทโคลา ในเครื่องดื่มประเภทชาและขนมช็อกโกแลตก็มีคาเฟอีนในปริมาณหนึ่ง

     งานวิจัยเกี่ยวกับผลของคาเฟอีน มีมากมายในห้วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา นับแต่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองในปี พ.ศ. 2501 ว่าคาเฟอีนเป็นอาหารกลุ่มค่อนข้างปลอดภัย แม้ยังมีข้อถกเถียงในเรื่องผลดีผลเสียของสารคาเฟอีนต่อสุขภาพ แต่ โดยรวมมีความเห็นร่วมกันว่าไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพ หากดื่มกาแฟไม่เกินระดับปกติ คือ ประมาณ 300 มก/วัน หรือเท่ากับกาแฟถ้วยมาตรฐาน 8 ออนซ์ 3 ถ้วยหรือชาชง 6 ถ้วยต่อวัน ทุกวันนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับคาเฟอีนใหม่ๆ ออกมาเพื่อเป็นประโยชน์ในการหาข้อมูลผู้ป่วยรวมทั้งหาความจริงในความเชื่อที่ถกเถียงกัน

     ความรู้ทางเภสัชวิทยาเกี่ยวกับคาเฟอีน
     คาเฟอีน หรือ 1,3,7 trimethyI-xanthine มีคุณสมบัติถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วภายใน 45 นาที หลังดื่มและระดับคาเฟอีนในเลือดเริ่มขึ้นตั้งแต่ 15-120 นาทีหลังดื่ม คาเฟอีนถูกขจัดออกจากเลือดโดยขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก ระยะเวลาที่ใช้ในการขจัดสำหรับคนหนุ่มสาวประมาณ 2.5-4.5 ชั่วโมง แต่ในคนชราและเด็กเล็กอาจมีนานถึง 80-100 ชั่วโมง เลยทีเดียว ในขณะที่ผู้สูบบุหรี่ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดกลับทำให้คาเฟอีนในเลือดถูกขจัดเร็วขึ้น นอกจากนี้กระบวนการทางเคมีของคาเฟอีนมีความจำเพาะต่อเผ่าพันธุ์หรือลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ดังนั้นการศึกษาผลของคาเฟอีนในสัตว์ทดลองจึงนำมาใช้อธิบายผลในมนุษย์ไม่ดีนัก

เชื่อว่า ผลของคาเฟอีนต่อร่างกาย ออกฤทธิ์ยับยั้ง adenosine receptor การที่แต่ละคนมีปฏิกิริยาไวต่อคาเฟอีนแตกต่างกันเชื่อว่าเป็นผลจากจำนวนและลักษณะของ adenosine receptor มากกว่าความแตกต่างในเรื่องการดูดซึมหรือกำจัดคาเฟอีนจากกระแสเลือด เชื่อว่าการยับยั้ง A2a receptor ลดการหลั่ง GABA จึงออกฤทธิ์ตรงข้ามกับยาคลายกังวล (anxiolytic drugs) กลุ่ม benzodiazepine หรืออาจช่วยการทำงานของ dopaminergic neuron นอกจากนี้ กลไกการออกฤทธิ์อื่นที่เป็นไปได้คือ การเพิ่มระดับสาร cathecholamine ในกระแสเลือด
ที่มา: โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หน้า 1027-1033.

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คอลลาเจน (Collagen)

   คอลลาเจน (Collagen) 
  มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกKolla แปลว่า “กาว”

     คอลลาเจนเป็นโปรตีนโครงสร้างหลักในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลายชนิดในสัตว์ คอลลาเจนเป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ฉะนั้นจึงเป็นโปรตีนที่พบมากที่สุดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย โดยคิดเป็น ร้อยละ 25-35 ของปริมาณโปรตีนทั้งหมดของร่างกาย ส่วนใหญ่คอลลาเจนพบในรูปเส้นใยฝอยยืดในเนื้อเยื่อเส้นใย (fibrous tissue) เช่น เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) เอ็น (ligament) และผิวหนัง ทั้งพบมากในกระจกตา กระดูกอ่อน กระดูก หลอดเลือด ทางเดินอาหารและหมอนกระดูกสันหลัง เซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast) เป็นเซลล์ที่สร้างคอลลาเจนมากที่สุด
     คอลลาเจนคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นสายยาว ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างจากสารโปรตีนโดยทั่ว ๆ ไปเช่นแดียวกับเอนไซม์ เส้นใยคอลลาเจนมีลักษณะเป็นสายเกลียวที่มีหน่วยโมเลกุลเกี่ยวพันกันมากมาย โดยปกติทั่วไปผิวหนังมีคอลลาเจนเป็นโครงสร้างอยู่มาก จึงมีแรงสปริงและยืดหยุ่นดีตามไปด้วย คอลลาเจนนั้นไม่ได้มีอยู่ที่ผิวหนังส่วนนอกเท่านั้น อวัยวะภายในร่างกาย ก็มีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอยู่มาก ได้แก่ ผังผืด (Fascia), กระดูกอ่อน, เอ็น, เอ็นกล้ามเนื้อและกระดูก คอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เคราติน
     เคราติน มีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น เมื่อสารเคราตินในชั้นผิวลดลง จึงเกิดริ้วรอย (wringkle) บนชั้นผิว, นอกจากนี้ เคราตินมีหน้าที่สร้างความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ รวมทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเยื่อกระจกตาและเลนส์ตาด้วย

      คอลลาเจนเป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มใยกล้ามเนื้อ (endomysium)คอลลาเจนประกอบเป็น ร้อยละ1-ร้อยละ2ในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเป็นร้อยละ 6 ของน้ำหนักกล้ามเนื้อมีเอ็นที่แข็งแรง เจลาติน ซึ่งใช้ในอาหารและอุตสาหกรรม เป็นคอลลาเจนที่ผ่านกระบวนการสลายด้วยน้ำ (hydrolysis) แบบย้อนกลับไม่ได้
  
      มีการใช้คอลลาเจนในศัลยกรรมเสริมสวยอย่างแพร่หลาย โดยเป็นการช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยแผลไหม้เพื่อสร้างกระดูกใหม่ ทั้งยังใช้ในจุดประสงค์ทางทันตกรรม ออร์โทพีดิกส์และศัลยกรรมอื่นอีกมาก พบใช้ทั้งคอลลาเจนมนุษย์และวัวเป็นสารเติมเข้าผิวหนังเพื่อรักษารอยย่นและการเปลี่ยนตามวัยของผิวหนังได้