วันศุกร์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

ยาลดความอ้วน Phentermine

 ยาลดความอ้วน Phentermine
โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวได้  การรักษาโรคอ้วนสามารถทำได้โดยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการผ่าตัด  ปัจจุบันพบว่าการรักษาด้วยวิธีการรับประทานยานั้นเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในวัยรุ่นหรือผู้หญิงที่มีค่านิยมในการอยากผอม การใช้ยาลดความอ้วนอย่างถูกต้องเป็นวิธีที่เห็นผลเร็วและมีประสิทธิภาพดี  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาลดความอ้วนอย่างผิดๆ ทั้งจากบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในกลไกการออกฤทธิ์ อาการข้างเคียง และวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง รวมถึงประชาชนบางกลุ่มที่ไปแสวงหายาลดความอ้วนมาใช้โดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลหรือตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองจากการใช้ยาซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพตามมาเป็นอย่างมาก

อย่างไรจึงเรียกว่า“อ้วน”
มาตรฐานสำคัญที่ใช้บ่งชี้ว่าบุคคลใดมีภาวะอ้วนหรือไม่นั้น ในปัจจุบันนิยมใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI)

นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานอีกชนิดหนึ่งที่ใช้บ่งชี้ถึงความอ้วนได้ คือ เส้นรอบเอว (waist circumference) ซึ่งมาตรฐานรอบเอว (waist circumference) สำหรับคนไทย คือ
- ผู้ชายไม่ควรเกิน 36 นิ้วหรือ 90 ซม.
- ผู้หญิงไม่เกิน 32 นิ้ว หรือ 80 ซม.
ยาชุดลดความอ้วน : ใช้ผิดมีสิทธิ์ตาย
จากการสำรวจของกองควบคุมวัตถุเสพติดพบว่ายาชุด “ยาลดน้ำหนัก” หรือ “ยาลดความอ้วน” มักจะประกอบไปด้วยยาหลายชนิดเพื่อช่วยเสริมผลในการลดน้ำหนัก เช่น ยาลดความอยากอาหาร ชื่อ เฟนเทอร์มีน (phentermine) ยาธัยรอยด์ฮอร์โมน ยาขับปัสสาวะ และยาระบาย ซึ่งยาเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้หากมีการใช้ผิดวิธี
 นอกจากนี้ ในกรณีที่หยุดรับประทานยาผิดวิธีก็อาจทำให้เกิดภาวะถอนยาได้อีกเช่นกัน ซึ่งอาการถอนยาที่เกิดขึ้น ได้แก่ มีอาการอ่อนเพลีย ง่วงซึม ไม่มีแรง ซึมเศร้า และหลับเป็นเวลานาน จะเห็นได้ว่าการใช้ phentermine ผิดวิธีสามารถก่อให้เกิดปัญหาได้มากและมีมอันตรายสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เช่น
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดอุดตัน
- ผู้ป่วยโรคต้อหิน (glaucoma)
- ผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากเกิน
- ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการใช้ยาในทางที่ผิด
- ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคจิต หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ
- ผู้ป่วยขณะที่กำลังได้รับยากลุ่ม  monoamine oxidase inhibitors (MAOI)รวมทั้งที่   เคยได้รับ  MAOI  มาก่อนหน้านี้ไม่เกิน  14  วันซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ถือเป็นข้อห้ามใช้ของยา phentermineเนื่องจากผลข้างเคียงจากยาจะมีผลทำให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยมีสภาวะเลวลง


   ดังนั้นการไปหาซื้อยาชุดหรือยาลดความอ้วนมาใช้เอง ทั้งจากคลินิกและสถานเสริมความงามที่ไม่มีแพทย์ที่มักไม่มีการตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียด รวมถึงจากร้านขายยาที่ลักลอบนำมาขาย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

    ข้อมูลจากการศึกษาและคำแนะนำจากองค์กรต่างๆ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) หรือ องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) แนะนำให้ใช้ phentermine ในระยะสั้นเท่านั้น (ไม่เกิน 3เดือน) และต้องมีความระมัดระวังในการรับประทานอาหารหรือยาอื่นๆ ร่วมกับ phentermine เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา หรือที่เรียกว่า “ยาตีกัน” และส่งผลให้ผู้ที่รับประทานได้รับอันตรายจากผลข้างเคียงหรือความเป็นพิษของยาได้ในที่สุด
การรักษาโรคอ้วนที่ดี ประหยัด และปลอดภัยที่สุด คือ การลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารอย่างถูกวิธี การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ปัจจัยหลายประการ เช่น การตามใจปาก ความเกียจคร้าน ภาระงานที่รัดตัว การขาดความมั่นใจในรูปร่าง ทำให้ผู้ที่มีปัญหาโรคอ้วนไม่มีเวลา หรือไม่กล้าที่จะปฏิบัติตามวิธีการรักษาดังกล่าว ทำให้การใช้ยาลดความอ้วนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับบุคคลเหล่านั้น อย่างไรก็ดีแม้ว่าการใช้ยาลดความอ้วนจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีและเห็นผลเร็ว แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นก่อนตัดสินใจรับประทานยาลดความอ้วนหรือยาใดๆ ตาม ควรศึกษาวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องและข้อมูลความปลอดภัยของยาจากเภสัชกร หรือเข้ารับคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ทางด้านอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อ หรือโภชนวิทยา จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยาได้มากที่สุด
บทความโดย คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Reference:
Phentermine. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2010 Jan 13. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2010. [cited 2010 Feb 3].
กองควบคุมวัตถุเสพติด. โรคอ้วนและปัญหาการใช้ยาลดความอ้วนในประเทศไทย[Online]. [cited 2010 Feb 3]. Available from: URL: http://www.fda.moph.go.th/youngfda/knowledge/page5.shtm.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น