วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ดื่มกาแฟแล้วทำให้สมองเสื่อมหรือไม่

ดื่มกาแฟแล้วทำให้สมองเสื่อมหรือไม่
    หลายคนกังวลว่าการดื่มกาแฟนานๆ มีผลให้สมองเสื่อม  จากงานวิจัยทางระบาดวิทยากลับพบอุบัติการณ์ของพาร์กินสันลดลงในผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำ โดยมีข้อสันนิษฐานถึงกลไกว่า จากการที่คาเฟอีนไปจับกับ adenosine receptor ชนิด A2a ในสมองส่วน striatrum ช่วยป้องกัน excitotoxic และ ischemic injury ของ dopaminergic neuron ต้นเหตุการณ์เสื่อมของสมองในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันและ GABA nergic neuron ต้นเหตุของHuntington’s disease นอกจากนี้ การศึกษาแบบ case-control ในยุโรป ยังพบว่าการบริโภคคาเฟอีนเป็นประจำช่วยลดความเสี่ยงเป็นความจำเสื่อมด้วย

    โดยสรุป จากงานวิจัยพบว่าการดื่มกาแฟกลับยิ่งช่วยลดการสลายของเซลล์ประสาทที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อม อย่างไรก็ตาม ผลยังอยู่ในขั้นการทดลองในสัตว์ มีความเป็นไปไดที่อนาคตจะมียาที่ออกฤทธิ์กระตุ้น A2a receptor เพื่อชะลอการเสื่อมของสมอง แต่การดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีนเพื่อหวังผลนี้คงไม่เหมาะสม เนื่องจากต้องพิจารณาถึงระดับสารที่ได้ผลดีต่อสมองกับผลข้างเคียงต่อระบบอื่นๆ
     ที่มา : โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หน้า 1027-1033.

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ดื่มกาแฟแล้วติดจริงหรือไม่

     ดื่มกาแฟแล้วติดจริงหรือ   
     คาเฟอีนกับระบบประสาทส่วนกลาง
    จากรายงานการวิจัยส่วนใหญ่ต่างยอมรับว่าคาเฟอีนกระตุ้นให้ตื่นตัว และลดอารมณ์หงุดหงิดจากการพักผ่อนน้อยได้จริง โดยปริมาณคาเฟอีนในการดื่มแต่ละครั้งไม่ว่าจะมากหรือน้อย ให้ผลไม่ต่างกันมากนัก ขณะการดื่มในคราวเดียวเกิน 150 มก. ทำให้มีอาการใจสั่นและวิตกกังวลได้ในบางคน

    อาการจากการหยุดดื่มกาแฟ จัดเป็น ภาวะขาดยาได้ โดยพบอาการปวดศีรษะร้อยละ 50 ในขณะที่อาการหงุดหงิดอย่างมากมีประมาณร้อยละ 13 อาการต่างๆ เหล่านี้มักเกิด 12-24 ชั่วโมงหลังหยุดกาแฟ และมีอาการอยู่ประมาณ 2-9 วัน โดยระดับความบ่อย และความรุนแรงของอาการเพิ่มตามปริมาณกาแฟที่ดื่มแต่ละวัน

    อย่างไรก็ตาม การวินิจฉัยนักดื่มว่าเป็นการติดสารคาเฟอีน (cafeine dependence) ดูจะรุนแรงเกินเหตุ เมื่อพิจารณาว่าอาการเหล่านี้มักไม่ถึงทำให้เสียการทำงาน ของร่างกายและสังคม หรือถ้ามีก็เป็นระยะเวลาสั้นๆ

    โดยสรุป แม้กาแฟไม่จัดเป็นสารเสพติดแต่ควรแนะนำให้ผู้ที่ต้องการเลิกกาแฟให้ค่อยๆ ลดปริมาณกาแฟเพื่อหลีกเลี่ยงอาการขาดยาและควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟทีละหลายๆ ถ้วย เนื่องจากไม่ช่วยให้ตื่นตัวดีขึ้นมากนักขณะที่กลับมีผลให้เกิดอาการใจสั่นได้


    ที่มา : โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หน้า 1027-1033.

กาแฟกับความดันเลือดสูง

  กาแฟกับความดันเลือดสูง
   จากงานวิจัยพบว่าคนที่เป็นโรคความดันเลือดสูงอยู่ก่อน หรือมีแนวโน้มจะมีความดันเลือดสูง ากเมื่อดื่มกาแฟเข้าไปแล้วจะมีความดันเลือดเพิ่มขึ้นมากกว่าคนปกติทั่วไป และมีผลลดประสิทธิภาพของยารักษาความดันกลุ่ม beta-blocker

    การศึกษาล่าสุด เกี่ยวกับคาเฟอีนโดยการให้อาสาสมัครกินคาเฟอีนที่บรรจุในแคปซูล 100 มก./วัน เช่นเดียวกับการดื่มกาแฟในระดับทั่วไปเป็นเวลา 5 วัน ก่อนจะทดสอบปฏิกิริยาการดื้อยาด้วยการวัดความดัน 18 ชั่วโมงหลังรับประทานคาเฟอีน 250 มก. จากการศึกษาพบว่า มีการเพิ่มของความดัน และเกิดอาการดื้อยาขึ้นทั้งในผู้ที่ไวและไม่ไวต่อกาเฟอีน แต่ในกลุ่มคนที่ไวต่อคาเฟอีนจะมีรับความดันเลือดสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ไวและความดันที่สูงอยู่นานกว่า

    โดยสรุปการแนะนำผู้ป่วยให้ลดกาแฟไม่ให้เกิน 3 แก้วต่อวัน หรืองดถ้าเป็นไปได้ในผู้ที่เป็นโรคความดันเลือดสูงอยู่แล้ว หรือมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคความดันเลือดสูง จึงน่าจะมีประโยชน์ทั้งในแง่การควบคุมความดันเอง และในแง่ส่วนผสมครีม น้ำตาลในกาแฟที่ทำให้เกิดภาวะอ้วนด้วย

    อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยต่างๆ ยังไม่มีหลักฐานว่าการดื่มคาเฟอีนเป็นประจำ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นความดันเลือดสูงในอนาคต และใน JNC7 ซึ่งเป็น แนวปฏิบัติในการป้องกันรักษาความดันเลือดสูงฉบับล่าสุดก็ระบุถึง life-style modification ที่ช่วยลดความดันได้ผลอยู่ 5 ประการ ได้แก่ การลดน้ำหนัก, การออกกำลังกาย, การลดอาหารเค็ม, การเลือกกินอาหารที่อุดมด้วยแร่ธาตุโพแทสเซียม แคลเซียม และการดื่มสุราให้ปริมาณพอเหมาะซึ่งไม่ได้กล่าวถึงคาเฟอีนแต่อย่างใด

 ที่มา : โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หน้า 1027-1033.

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

OEM คือ อะไร

OEM ย่อมาจาก Origianal Equipment Manufactur หมายถึง การรับจ้างผลิตสินค้าให้กับแบรนด์ต่าง ๆ ตามแบบที่ลูกค้ากำหนด โดยใช้กระบวนการผลิตของเราผู้รับจ้างรวมทั้งเครื่องมือเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตด้วย มักจะเป็นโรงงานเปิดใหม่  หรือโรงงานที่ไม่เน้นการสร้างแบรนด์ของตนเอง และโรงงานที่ไม่มีความชำนาญในการออกแบบผลิตภัณฑ์หรืออาจจะมีบุคคลากรไม่เพียงพอต่อการผลิต

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คาเฟอีนกับสุขภาพหัวใจ

 คาเฟอีนกับสุขภาพหัวใจ

     คาเฟอีนขนาดไม่เกิน 500 มก./วัน ไม่ได้เพิ่มความถี่หรือความรุนแรงต่อการเกิดการเต้นผิดจังหวะของหัวใจห้องบน ทั้งในคนปกติและในผู้ป่วยที่เคยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดหรือเคยมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะมาก่อน

    สำหรับการเต้นผิดจังหวะของหัวใจห้องบน มีการศึกษาทดลองหลังจากให้อาสาสมัคร 10 คน รับคาเฟอีน 400 มก. ปรากฏว่า ไม่มีความเปลี่ยนแปลงลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ล่าสุดในการศึกษาติดตามในกลุ่มประชากรขนาดใหญ่กว่า 40,000 คน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณการบริโภคสารคาเฟอีนกับโอกาสเกิดหัวใจผิดจังหวะในคนทั่วไป

    แม้จากงานศึกษาวิจัยไม่มีหลักฐานว่าคาเฟอีนทำให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยตรงหลักการที่ผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดควรมีการเต้นหัวใจไม่เร็วเกินไปนัก ร่วมกับผลของคาเฟอีนที่อาจจะเพิ่มระดับ homocysteine ที่กำลังสนใจว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งให้เกิดหัวใจขาดเลือด ดังนั้น ในผู้สูงอายุหรือผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจขาดเลือด จึงควรแนะให้ลดการดื่มกาแฟลงถ้าเป็นไปได้

ที่มา: โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หน้า 1027-1033.

กาแฟ มีผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ ?

 กาแฟ มีผลเสียต่อสุขภาพจริงหรือ
กาแฟ (Coffee)
    กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่นิยมกันมากว่า 100 ปี การดื่มกาแฟไม่ดีกับสุขภาพจริงหรือไม่ เป็นคำถามที่หลายๆคนพยายามหาคำตอบของเรื่องนี้มานาน โรงพยาบาลบางแห่งที่มีโครงการ HPH ถึงกับมีนโยบายงดดื่มกาแฟในโรงพยาบาลเลยทีเดียว
    เมื่อกล่าวถึงผลจากการดื่มกาแฟ ดูจะเป็นการพูดถึงผลของคาเฟอีนไปโดยปริยาย ทั้งที่คาเฟอีนเป็นอัลคาลอยด์ที่พบในพืชกว่า 60 ชนิด ในเครื่องดื่มประเภทโคลา ในเครื่องดื่มประเภทชาและขนมช็อกโกแลตก็มีคาเฟอีนในปริมาณหนึ่ง

     งานวิจัยเกี่ยวกับผลของคาเฟอีน มีมากมายในห้วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา นับแต่องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้รับรองในปี พ.ศ. 2501 ว่าคาเฟอีนเป็นอาหารกลุ่มค่อนข้างปลอดภัย แม้ยังมีข้อถกเถียงในเรื่องผลดีผลเสียของสารคาเฟอีนต่อสุขภาพ แต่ โดยรวมมีความเห็นร่วมกันว่าไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพ หากดื่มกาแฟไม่เกินระดับปกติ คือ ประมาณ 300 มก/วัน หรือเท่ากับกาแฟถ้วยมาตรฐาน 8 ออนซ์ 3 ถ้วยหรือชาชง 6 ถ้วยต่อวัน ทุกวันนี้ยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับคาเฟอีนใหม่ๆ ออกมาเพื่อเป็นประโยชน์ในการหาข้อมูลผู้ป่วยรวมทั้งหาความจริงในความเชื่อที่ถกเถียงกัน

     ความรู้ทางเภสัชวิทยาเกี่ยวกับคาเฟอีน
     คาเฟอีน หรือ 1,3,7 trimethyI-xanthine มีคุณสมบัติถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วภายใน 45 นาที หลังดื่มและระดับคาเฟอีนในเลือดเริ่มขึ้นตั้งแต่ 15-120 นาทีหลังดื่ม คาเฟอีนถูกขจัดออกจากเลือดโดยขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก ระยะเวลาที่ใช้ในการขจัดสำหรับคนหนุ่มสาวประมาณ 2.5-4.5 ชั่วโมง แต่ในคนชราและเด็กเล็กอาจมีนานถึง 80-100 ชั่วโมง เลยทีเดียว ในขณะที่ผู้สูบบุหรี่ผู้ที่กินยาคุมกำเนิดกลับทำให้คาเฟอีนในเลือดถูกขจัดเร็วขึ้น นอกจากนี้กระบวนการทางเคมีของคาเฟอีนมีความจำเพาะต่อเผ่าพันธุ์หรือลักษณะเฉพาะของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ดังนั้นการศึกษาผลของคาเฟอีนในสัตว์ทดลองจึงนำมาใช้อธิบายผลในมนุษย์ไม่ดีนัก

เชื่อว่า ผลของคาเฟอีนต่อร่างกาย ออกฤทธิ์ยับยั้ง adenosine receptor การที่แต่ละคนมีปฏิกิริยาไวต่อคาเฟอีนแตกต่างกันเชื่อว่าเป็นผลจากจำนวนและลักษณะของ adenosine receptor มากกว่าความแตกต่างในเรื่องการดูดซึมหรือกำจัดคาเฟอีนจากกระแสเลือด เชื่อว่าการยับยั้ง A2a receptor ลดการหลั่ง GABA จึงออกฤทธิ์ตรงข้ามกับยาคลายกังวล (anxiolytic drugs) กลุ่ม benzodiazepine หรืออาจช่วยการทำงานของ dopaminergic neuron นอกจากนี้ กลไกการออกฤทธิ์อื่นที่เป็นไปได้คือ การเพิ่มระดับสาร cathecholamine ในกระแสเลือด
ที่มา: โดย วารสารคลินิก ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2548 หน้า 1027-1033.

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

คอลลาเจน (Collagen)

   คอลลาเจน (Collagen) 
  มีรากศัพท์มาจากภาษากรีกKolla แปลว่า “กาว”

     คอลลาเจนเป็นโปรตีนโครงสร้างหลักในเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลายชนิดในสัตว์ คอลลาเจนเป็นองค์ประกอบหลักของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ฉะนั้นจึงเป็นโปรตีนที่พบมากที่สุดในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมด้วย โดยคิดเป็น ร้อยละ 25-35 ของปริมาณโปรตีนทั้งหมดของร่างกาย ส่วนใหญ่คอลลาเจนพบในรูปเส้นใยฝอยยืดในเนื้อเยื่อเส้นใย (fibrous tissue) เช่น เอ็นกล้ามเนื้อ (tendon) เอ็น (ligament) และผิวหนัง ทั้งพบมากในกระจกตา กระดูกอ่อน กระดูก หลอดเลือด ทางเดินอาหารและหมอนกระดูกสันหลัง เซลล์สร้างเส้นใย (fibroblast) เป็นเซลล์ที่สร้างคอลลาเจนมากที่สุด
     คอลลาเจนคือโปรตีนชนิดหนึ่งที่เป็นสายยาว ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างจากสารโปรตีนโดยทั่ว ๆ ไปเช่นแดียวกับเอนไซม์ เส้นใยคอลลาเจนมีลักษณะเป็นสายเกลียวที่มีหน่วยโมเลกุลเกี่ยวพันกันมากมาย โดยปกติทั่วไปผิวหนังมีคอลลาเจนเป็นโครงสร้างอยู่มาก จึงมีแรงสปริงและยืดหยุ่นดีตามไปด้วย คอลลาเจนนั้นไม่ได้มีอยู่ที่ผิวหนังส่วนนอกเท่านั้น อวัยวะภายในร่างกาย ก็มีคอลลาเจนเป็นส่วนประกอบอยู่มาก ได้แก่ ผังผืด (Fascia), กระดูกอ่อน, เอ็น, เอ็นกล้ามเนื้อและกระดูก คอลลาเจนที่เป็นส่วนประกอบหลักของชั้นผิวมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เคราติน
     เคราติน มีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและความยืดหยุ่น เมื่อสารเคราตินในชั้นผิวลดลง จึงเกิดริ้วรอย (wringkle) บนชั้นผิว, นอกจากนี้ เคราตินมีหน้าที่สร้างความยืดหยุ่นให้ผนังหลอดเลือด มีส่วนช่วยในการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ รวมทั้งยังเป็นส่วนประกอบของเยื่อกระจกตาและเลนส์ตาด้วย

      คอลลาเจนเป็นองค์ประกอบหลักของเยื่อหุ้มใยกล้ามเนื้อ (endomysium)คอลลาเจนประกอบเป็น ร้อยละ1-ร้อยละ2ในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ และเป็นร้อยละ 6 ของน้ำหนักกล้ามเนื้อมีเอ็นที่แข็งแรง เจลาติน ซึ่งใช้ในอาหารและอุตสาหกรรม เป็นคอลลาเจนที่ผ่านกระบวนการสลายด้วยน้ำ (hydrolysis) แบบย้อนกลับไม่ได้
  
      มีการใช้คอลลาเจนในศัลยกรรมเสริมสวยอย่างแพร่หลาย โดยเป็นการช่วยฟื้นฟูผู้ป่วยแผลไหม้เพื่อสร้างกระดูกใหม่ ทั้งยังใช้ในจุดประสงค์ทางทันตกรรม ออร์โทพีดิกส์และศัลยกรรมอื่นอีกมาก พบใช้ทั้งคอลลาเจนมนุษย์และวัวเป็นสารเติมเข้าผิวหนังเพื่อรักษารอยย่นและการเปลี่ยนตามวัยของผิวหนังได้