วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตะขบ


ตะขบ

ตะขบ
ภาพจาก http://www.baanmaha.com/

ชื่อพื้นเมืองอื่น
ครบฝรั่ง (สุราษฏร์ธานี)ตะขบ , ตะขบฝรั่ง(ภาคกลาง)
ชื่ออื่นๆ (Other Name) : มะเกว๋นควาย ครบ
ชื่อวงศ์
Flacourtiaceae

ชื่อวิทยาศาสตร์
Muntingla calabura L.
ชื่อสามัญ Calabura ,Jamalcan ,cherry ,jam tree

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ต้น ขนาดเล็ก (ExST) สูงประมาณ 5-7 เมตร เปลือกสีเทา กิ่งแผ่สาขาขนานกับพื้นดิน ตามกิ่งมีขนปกคลุม ขนนุ่ม และปลายเป็นตุ่ม ยอดอ่อนเมื่อจับดูรู้สึกเหนียวมือเล็กน้อย
ต้นตะขบ

ใบ เป็นใบเลี้ยงเดียว เรียงสลับแบบ ทแยงกัน ลักษณะใบรูปขอบขนานแกรมรูปไข่ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบข้างหนึ่งมน ข้างหนึ่งแหลม ขอบใบหยัก มีขนปกคลุมหนาแน่ เส้นใบมี 3-5 เส้น ด้านบนสีเขียวด้านล่างสีนวล ก้านใบยาว มีขน โคนก้านเป็นปม ๆ

ดอก ดอกเดี่ยว ๆ หรือเป็นคู่ เหมือนง่ามใบ เวลาบานมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 เซนติเมตร ก้านดอกยาว มีขน กลีบรองกลีบดอก 5 กลีบ ไม่ติดกัน สีเขียว รูปหอก ปลายแหลมเป็นหางยาว โคลนกลีบตัดด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง กลีบดอก 5 กลีบ สีขาว รูปไข่กลับป้อม ๆ ย่น เกลี้ยง

ผลตะขบ
ภาพจาก http://www.baanmaha.com/

ผล ลักษณะลูกทรงกลม ผิวบางเรียบ ขนาด 1.5 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีแดง รสหวาน
ต้นตะขบ

เมล็ด มีลักษณะเล็ก ๆ จำนวนมาก

มี ถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้ ขึ้นทั่วไปตามพื้นที่ในเขตร้อน เกิดตามที่รกร้างว่างเปล่า หรือตามป่าโปร่งทั่วไป นิยมปลูกเป็นไม้ร่มเงาตามบ้านเรือน การปลูกและขยายพันธุ์

เป็นไม้กลางแจ้งที่ปลูกง่ายโตเร็ว เจริญเติบโตได้ดีในดินทั่ว ๆ ไปขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ด หรือต้นที่เกิดขึ้นใหม่



ประโยชน์ทางยา
รส และสรรพคุณในตำรายา
เปลือกต้น รสฝาด เป็นยาระบาย เพราะมีสารพวก Mucilage มากใบ รสฝาดเอียน ใช้ในการขับเหงื่อ ดอก รสฝาด แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด ปวดเกร็งในทางเดินอาหาร ลดไข้ ต้มรวมกับสมุนไพรอื่น ๆ เอาน้ำดื่มเป็นยาขับระดู และแก้โรคตับอักเสบ ผล รสหวานเย็น มีกลิ่นหอมบำรุงกำลัง ทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ ราก รสฝาด กล่อมเสมหะและอาจม

วิธีใช้และปริมาณที่ใช้
1. เป็นยาระบาย โดยใช้เปลือกต้นสด หรือแห้ง ประมาณ 1 ฝ่ามือสับเป็นชิ้นต้มในน้ำเดือด 1 ลิตร ประมาณ 15 นาที กรองเอาน้ำดื่ม ซึ่งในเปลือกจะมีสารพวก Mucilage มาก ซึ่งเป็นยาระบายที่ดี

2. แก้ปวดศีรษะ แก้หวัด ปวดเกร็งในระบบทางเดินอาหาร และลดไข้โดยใช้ดอกแห้ง 3-5 กรัม ชงเป็นน้ำชาดื่ม

ผลสุกจะมีรสหวานเย็น กลิ่นหอม รับประทานแล้วจะเป็นยาบำรุงกำลังทำให้ชุ่มชื่นหัวใจ

ขอบคุณข้อมูลและภาพ:http://www.baanmaha.com/community/thread34708.html,http://thailand-an-field.blogspot.com/2010/07/blog-post_14.html

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สมุนไพรโทงเทง

สมุนไพรโทงเทง





ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Physalis angulata  L.

ชื่อสามัญ :   Hogweed, Ground Cherry

วงศ์ :   SOLANACEAE

ชื่ออื่น :  ต้อมต๊อก บาตอมต๊อก (เชียงใหม่)  ตะเงหลั่งเช้า (จีน)  ปุงปิง (ปัตตานี) ปิงเป้ง (หนองคาย)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้ล้มลุกขนาดเล็ก ลำต้นอวบน้ำเปลือกเกลี้ยงสีเขียว โคนสีม่วงแดงและสีค่อย ๆ จางลงเป็นสีเขียวใสเป็นเหลี่ยม ยอดเป็นสีเขียวอ่อน ลำต้นสูงประมาณ 25 - 50 เซนติเมตร สูงเต็มที่ 120 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขา ใบ เป็นใบเดี่ยวสีเขียวเรียงสลับออกตามข้อ ๆ ละใบ มีก้านยาว 2 - 3 เซนติเมตร ลักษณะใบคล้ายใบพริก รูปหอกป้าน ปลายแหลมและขอบใบเรียบ ใบกว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 4 - 7 เซนติเมตร มีเส้นแขนงใบ 5 - 7 คู่ ดอก ออกระหว่างก้านใบกับลำต้น ดอกเล็กคล้ายดอกพริก แต่กลีบดอกสั้นและแข็งกว่า ดอกตูมทรงรีปลายแหลม เวลาบานเป็นรูปแตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 - 2 เซนติเมตร กลีบดอกชั้นในมีสีเหลืองอ่อน กลีบดอกชั้นนอกหรือกลีบเลี้ยงมีสีเขียวอ่อน จำนวน 5 กลีบ ซึ่งจะเจริญเติบโตขยายตัวหุ้มผลภายในไว้หลวม ๆ ทำให้ดูเสมือนว่าผลพอง ออกดอกตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เรื่อยไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน ผล ผลโทงเทงมีกลีบดอกชั้นนอกหุ้มเหมือนโคมจีนสีเขียวอ่อนมีลายสีม่วง ผลภายในมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผลกลมใสมีสีเขียวอ่อน และเมื่อสุกกลายเป็นสีเหลือง เมล็ด ในผลมีเมล็ดขนาดเล็กมีจำนวนมาก รูปกลมแบน เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.2 - 0.3 มิลลิเมตร มีเมือกหุ้มคล้ายมะเขือเทศจำนวนมาก
ส่วนที่ใช้ :  ทั้งต้น ราก เยื่อหุ้มผลแห้ง

โทงเทงฝรั่ง

สรรพคุณ :

ทั้งต้น  - รักษาดีซ่าน ไอหืดเรื้อรัง แผลมีหนอง เจ็บคอ

ราก - ใช้ขับพยาธิ รักษาโรคเบาหวาน

วิธีและปริมาณที่ใช้

ยารักษาโรคหืด
ใช้ทั้งต้นแห้ง 1/2 กิโลกรัม ต้มกับน้ำ เติมน้ำตาลกรวดลงไปให้หวาน รับประทานครั้งบะ 1/4 ถ้วยแก้ว วันละ 3 ครั้ง หลังอาหารเป็นเวลา 10 วัน หยุดยา 3 วัน รับประทานต่อไปอีก 10 วัน พักอีก 3 วัน แล้วรับประทานต่อไปอีก 10 วัน หอบหืดจะได้ผลดี
ข้อควรระวัง - ในการรับประทานสมุนไพรโทงเทงนี้ใน 1-5 วันแรก บางคนอาจมีอาการอึดอัด เวียนศีรษะ นอนไม่หลับ หงุดหงิด หลังจากนั้นอาหารเหล่านี้จะหายไปเอง

ยารักษาแผลในปาก เจ็บคอ
- ใช้เยื่อหุ้มผลแห้งที่เอาเมล็ดออกแล้วหนัก 10 กรัม เปลือกส้ม 6 กรัม ต้มกับน้ำผสมน้ำตาลกรวดพอหวานเล็กน้อย ใช้ดื่มต่างน้ำ
- ใช้ทั้งต้น ตำละลายกับสุรา เอาสำลีชุบน้ำยาอมไว้ข้างแก้ม กลืนน้ำผ่านลำคอทีละน้อย แก้ต่อมน้ำลายอักเสบ (ต่อมทอนซิล) แก้ฝีในลำคอ (แซง้อ) หรือ ละลายกับน้ำส้มสายชูก็ได้ แก้ความอักเสบในลำคอได้ดีมาก
ใช้ภายใน แก้ร้อนในกระหายน้ำ ใช้ภายนอก แก้ฟกบวมอักเสบ ทำให้เย็น

ยาขับพยาธิ รักษาโรคเบาหวาน
ใช้รากต้มกับน้ำรับประทาน

      มีข้อมูลทางเภสัชวิทยาบอกว่า เมื่อนำโทงเทงทั้งต้นมาสกัดทำเป็นยาแก้ไอ ให้ผู้ป่วยโรคหลอดลมอักเสบจำนวน 36 คน รับประทาน พบว่า ผลการรักษาผู้ป่วยได้ผลดี  
       นอกจากนี้ ยังพบสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanins) ในโทงเทง ซึ่งเป็นสารที่ลดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง และยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ    
       จากคุณสมบัติที่มีสรรพคุณในการป้องกันการเกิดโรคมะเร็งนั้น จึงเป็นที่มาของการคิดค้นตำรับยารักษาโรคมะเร็งที่มีส่วนผสมของโทงเทงอยู่ในองค์ประกอบหลัก
 มีผลการวิจัยจากประเทศอินเดีย เมื่อ ค.ศ. 1973 ว่า สารสกัดจากสมุนไพรโทงเทง สามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ ส่วนที่ใช้ คือ ทั้งต้น ราก และเยื่อหุ้มผลแห้ง  
       ส่วนการวิจัยของสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า สารสกัดจากต้นโทงเทง มีฤทธิ์ในการยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ
     
       ข้อควรระวัง!
       • สตรีมีครรภ์ห้ามรับประทาน
       • ในช่วง 1-5 วันแรก เมื่อรับประทานแล้วอาจมีอาการเวียนศีรษะ นอนไม่หลับ อึดอัด หงุดหงิด หลังจากนั้นอาการเหล่านี้จะค่อยๆหายไปเอง
       • กลีบเลี้ยงของต้นโทงเทง มีสารพิษโซลานิน (Solanine) ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหาร เมื่อรับประทานแล้วหลายชั่วโมงจะปวดแสบปวดร้อนที่ปากและคอหอย คลื่นไส้ เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง และท้องร่วง อุณหภูมิร่างกายสูง เป็นต้น ถ้ายังไม่อาเจียนออก จะต้องล้างท้อง ให้น้ำเกลือ ระวังอาการไตวาย ให้ยาเคลือบกระเพาะอาหาร หรือถ้ามีอาการชักให้ใช้ยาแก้ชัก

ขอบคุณข้อมูลและภาพ:http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_27_2.htm
www.manager.co.th